กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ บทหนึ่งมีเพียงหนึ่งบาท บาทละ 3 วรรค บังคับจำนวนคำและสัมผัส ไม่มีบังคับเอก-โท หรือครุ-ลหุ กาพย์ฉบังที่กวีนิยมใช้ในวรรณกรรมตั้งแต่โบราณคือ กาพย์ฉบัง 16
เนื้อหา
[ซ่อน]ความเป็นมา[แก้]
เคยเชื่อกันว่ากาพย์เป็นคำประพันธ์ที่ดัดแปลงมาจากฉันท์ แต่สำหรับ กาพย์ฉบัง นี้ไม่ปรากฏว่ามาจากฉันท์ชนิดใด และไม่เหมือนกาพย์ชนิดใดในตำรากาพย์ ขณะที่สุจิตต์ วงษ์เทศ ระบุว่ากาพย์ฉบังเป็นฉันทลักษณ์เขมร โดย ฉบัง มีรากจากคำเขมรว่า “จฺบำง” หรือ “จํบำง” (ไทยใช้ว่า จำบัง) แปลว่า รบ, สงคราม แต่กวีเขมรบรรยายฉากสงคราม, เคลื่อนทัพ, สู้รบ ด้วยฉันทลักษณ์ที่เขมรเรียกบทพํโนล(ปุมโนล) แล้วไทยเรียกฉบัง[1]
ในจินดามณีมีข้อความว่า
จ ○○○○○○ ○○○○ ○○○○○○ ฯ 16 ฉบัง โคลสิงฆฉันท์ ฯ มิได้กำหนด ครุ ลหุ แลนิยมแต่กลอนฟัดกันอย่างกาพย
เมื่อพิจารณากาพย์ตัวอย่างแล้วฉันทลักษณ์ก็คือ กาพย์ฉบัง 16 นั่นเอง[2] ส่วนคำว่า โคลสิงฆฉันท์ น่าจะเป็นชื่อวรรณกรรมที่ยกมาเป็นตัวอย่าง
๏ ○○○○○○ ○○○○ ○○○○○○○○ ฯ 18 ชื่อฉันทฉบำดำเนอรกลอน 4
และ
๏ ○○○○○○○ ○○○○○ ○○○○○○ ฯ 18 ฉันทฉบำดำเนอรกลอน 5 ฯ
เมื่อพิจารณากาพย์ตัวอย่างแล้วฉันทลักษณ์เป็นกาพย์ฉบัง 18 แต่การจัดวรรคต่างกัน คำว่าดำเนอรกลอน 4 หมายถึงการรับสัมผัสคำที่ 4 ของวรรคที่สอง และดำเนอรกลอน 5 หมายถึงการรับสัมผัสคำที่ 5 ของวรรคที่สองนั่นเอง
ฉันทลักษณ์[แก้]
กาพย์ฉบัง 16[แก้]
หนึ่งบทมี 16 คำ 3 วรรค วรรคละ 6 - 4 - 6 คำตามลำดับ บังคับสัมผัสท้ายวรรคแรกกับวรรคที่สอง สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายวรรคแรก ไปยังท้ายวรรคแรกในบทต่อไป ดังตัวอย่าง
┌───┐ ○○○○○● ○○○● ○○○○○●┐ ├───┐ ○○○○○● ○○○● ○○○○○●─┐
๏ นกกดสองสิ่งเสียงหวาน | ไก่เถื่อนอันตรกาน | |
อเนกในไพรสณฑ์ |
๏ กวักกว่าเปล้าปล่าโจษจล | ออกเอี้ยงอลวล | |
ก็ร้องวางเวงเวหา |
๏ ซังแซวเหยี่ยวรุ้งเร้นกา | จับจอมพฤกษา | |
สรหล้ายสรหลมซมกัน |
๏ สาลิกาแขกเต้าขานขัน | บันลิงลายพรรณ | |
เพียงพบูมแมนเขียน | ||
— มหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน |
กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ บทหนึ่งมีเพียงหนึ่งบาท บาทละ 3 วรรค บังคับจำนวนคำและสัมผัส ไม่มีบังคับเอก-โท หรือครุ-ลหุ กาพย์ฉบังที่กวีนิยมใช้ในวรรณกรรมตั้งแต่โบราณคือ กาพย์ฉบัง 16
เนื้อหา
[ซ่อน]ความเป็นมา[แก้]
เคยเชื่อกันว่ากาพย์เป็นคำประพันธ์ที่ดัดแปลงมาจากฉันท์ แต่สำหรับ กาพย์ฉบัง นี้ไม่ปรากฏว่ามาจากฉันท์ชนิดใด และไม่เหมือนกาพย์ชนิดใดในตำรากาพย์ ขณะที่สุจิตต์ วงษ์เทศ ระบุว่ากาพย์ฉบังเป็นฉันทลักษณ์เขมร โดย ฉบัง มีรากจากคำเขมรว่า “จฺบำง” หรือ “จํบำง” (ไทยใช้ว่า จำบัง) แปลว่า รบ, สงคราม แต่กวีเขมรบรรยายฉากสงคราม, เคลื่อนทัพ, สู้รบ ด้วยฉันทลักษณ์ที่เขมรเรียกบทพํโนล(ปุมโนล) แล้วไทยเรียกฉบัง[1]
ในจินดามณีมีข้อความว่า
จ ○○○○○○ ○○○○ ○○○○○○ ฯ 16 ฉบัง โคลสิงฆฉันท์ ฯ มิได้กำหนด ครุ ลหุ แลนิยมแต่กลอนฟัดกันอย่างกาพย
เมื่อพิจารณากาพย์ตัวอย่างแล้วฉันทลักษณ์ก็คือ กาพย์ฉบัง 16 นั่นเอง[2] ส่วนคำว่า โคลสิงฆฉันท์ น่าจะเป็นชื่อวรรณกรรมที่ยกมาเป็นตัวอย่าง
๏ ○○○○○○ ○○○○ ○○○○○○○○ ฯ 18 ชื่อฉันทฉบำดำเนอรกลอน 4
และ
๏ ○○○○○○○ ○○○○○ ○○○○○○ ฯ 18 ฉันทฉบำดำเนอรกลอน 5 ฯ
เมื่อพิจารณากาพย์ตัวอย่างแล้วฉันทลักษณ์เป็นกาพย์ฉบัง 18 แต่การจัดวรรคต่างกัน คำว่าดำเนอรกลอน 4 หมายถึงการรับสัมผัสคำที่ 4 ของวรรคที่สอง และดำเนอรกลอน 5 หมายถึงการรับสัมผัสคำที่ 5 ของวรรคที่สองนั่นเอง
ฉันทลักษณ์[แก้]
กาพย์ฉบัง 16[แก้]
หนึ่งบทมี 16 คำ 3 วรรค วรรคละ 6 - 4 - 6 คำตามลำดับ บังคับสัมผัสท้ายวรรคแรกกับวรรคที่สอง สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายวรรคแรก ไปยังท้ายวรรคแรกในบทต่อไป ดังตัวอย่าง
┌───┐ ○○○○○● ○○○● ○○○○○●┐ ├───┐ ○○○○○● ○○○● ○○○○○●─┐
๏ นกกดสองสิ่งเสียงหวาน | ไก่เถื่อนอันตรกาน | |
อเนกในไพรสณฑ์ |
๏ กวักกว่าเปล้าปล่าโจษจล | ออกเอี้ยงอลวล | |
ก็ร้องวางเวงเวหา |
๏ ซังแซวเหยี่ยวรุ้งเร้นกา | จับจอมพฤกษา | |
สรหล้ายสรหลมซมกัน |
๏ สาลิกาแขกเต้าขานขัน | บันลิงลายพรรณ | |
เพียงพบูมแมนเขียน | ||
— มหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน |